ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนวเป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้สามารถรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเองอย่างมีเหตุผลและใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาโดยมีข้อมูลประกอบ
ความสำคัญของแนะแนว
การแนะแนวมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเหลือให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทภาพ ดังนั้นในบทบาทของทางโรงเรียนมีความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่นักเรียนในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไป
ประโยชน์ของการแนะแนว
การแนะแนวมีประโยชน์และมีบทบาทมากในโรงเรียน เพราะบริการแนะแนวช่วยครูเข้าใจเด็กได้ดียิ่งขึ้น ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกลุมเรียนให้เด็กอย่างเหมาะสม
หน้าที่และหลักการแนะแนว
1.การให้บริการแนะแนวต้องยึดปรัชญาการแนะแนว
2.จัดการให้ครอบคลุมและเป็นระบบต่อเนื่อง
3.การแนะแนวในโรงเรียนจัดบริการให้นักเรียนทุกคน
4.การแนะแนวต้องคำนึงถึงปรัชญาของการแนะแนวที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
5.การแนะแนวเป็นกระบวนการทำงานที่ต้องการความร่วมมือจากหลายๆด้าน
การให้บริการแนะแนวในโรงเรียน
1.ขอบข่ายของการจัดการบริการแนะแนว
การจัดการบริการแนะแนวให้นักเรียนในโรงเรียน ต้องจัดบริการ 3 ขอบข่าย
(1.การแนะแนวการศึกษา
(2.การแนะแนวการศึกษาต่ออาชีพ
(3.การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
2.งานบริการแนะแนว
(1.บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลคือ เป็นบริการที่ครูแนะแนวได้ใช้เครื่องมือวิธีการต่างๆ ทั้งทดสอบและไม่ใช้ทดสอบเพื่อรวบรวมข้อมูล
(2.บริการสนเทศ คือการให้บริการสนเทศแก่เด็กวัยรุ่น เป็นก่รนจัดหาและรวบรวมข้อมูลด้านการศึกษา ด้านการศึกษาต่อและอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคมให้มีความหมายนำเสนอด้วยวิธีการหลากหลายเพื่อใช้ในการอย่างถูกต้อง
(3.การบริการให้คำปรึกษา คือ การจัดบริการให้คำปรึกษาเป็นบริการหนึ่งของการแนะแนวที่สามารถนำมาใช้ เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นได้ดี เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ส่วนตัวและสิทธิส่วนบุคคลของผู้ขอคำปรึกษา ซึ่งมีผลต่อการให้คำปรึกษาอย่างยิ่ง
(4.การบริการจัดการตัวบุคคล คือโรงเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดวางตัวนักเรียนเพื่อให้ได้เรียนดี มีงานทำที่เหมาะสมกับตนเอง เป็นการช่วยให้เด็กได้ใช้โอกาสต่างๆ ที่มีให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุด
(5.การบริการติดตามผล เป็นการประเมินผลการดำเนินงานแนะแนวที่ทางโรงเรียนได้ดำเนินการไปแล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย
การให้คำปรึกษา
-บทบาทของผู้ให้การปรึกษาจึงเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการมีโอกาสใช้ศักยภาพพัฒนากระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดขึ้นได้ การให้การปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจเป็นเรื่องของการช่วยผู้รับบริการให้หลุดออกจากภาวะความลังเล ไปสู่ความเชื่อมั่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างคงที่และถาวร
ประเภทของการให้คำปรึกษา
การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)
การให้คำปรึกษาจะเป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษา 1 คน กับผู้ขอคำปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน การให้คำปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
2. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)
การให้คำปรึกษาประเภทนี้ หรืออาจเรียกว่าการให้คำปรึกษาเชิงกระบวนการ เป็นกระบวนการที่บุคคลที่มีความต้องการหรือปัญหาที่คล้ายกันหรือตรงกัน ต้องการปรับปรุงตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือต้องการจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน มารวมกันเป็นกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกันโดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น