ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนวเป็นกระบวนการช่วยเหลือบุคคลให้สามารถรู้จักตนเอง รู้จักพัฒนาตนเองอย่างมีเหตุผลและใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาโดยมีข้อมูลประกอบ
ความสำคัญของแนะแนว
การแนะแนวมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการช่วยเหลือให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทภาพ ดังนั้นในบทบาทของทางโรงเรียนมีความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่นักเรียนในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไป
ประโยชน์ของการแนะแนว
การแนะแนวมีประโยชน์และมีบทบาทมากในโรงเรียน เพราะบริการแนะแนวช่วยครูเข้าใจเด็กได้ดียิ่งขึ้น ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกลุมเรียนให้เด็กอย่างเหมาะสม
หน้าที่และหลักการแนะแนว
1.การให้บริการแนะแนวต้องยึดปรัชญาการแนะแนว
2.จัดการให้ครอบคลุมและเป็นระบบต่อเนื่อง
3.การแนะแนวในโรงเรียนจัดบริการให้นักเรียนทุกคน
4.การแนะแนวต้องคำนึงถึงปรัชญาของการแนะแนวที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล
5.การแนะแนวเป็นกระบวนการทำงานที่ต้องการความร่วมมือจากหลายๆด้าน
การให้บริการแนะแนวในโรงเรียน
1.ขอบข่ายของการจัดการบริการแนะแนว
การจัดการบริการแนะแนวให้นักเรียนในโรงเรียน ต้องจัดบริการ 3 ขอบข่าย
(1.การแนะแนวการศึกษา
(2.การแนะแนวการศึกษาต่ออาชีพ
(3.การแนะแนวส่วนตัวและสังคม
2.งานบริการแนะแนว
(1.บริการรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลคือ เป็นบริการที่ครูแนะแนวได้ใช้เครื่องมือวิธีการต่างๆ ทั้งทดสอบและไม่ใช้ทดสอบเพื่อรวบรวมข้อมูล
(2.บริการสนเทศ คือการให้บริการสนเทศแก่เด็กวัยรุ่น เป็นก่รนจัดหาและรวบรวมข้อมูลด้านการศึกษา ด้านการศึกษาต่อและอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคมให้มีความหมายนำเสนอด้วยวิธีการหลากหลายเพื่อใช้ในการอย่างถูกต้อง
(3.การบริการให้คำปรึกษา คือ การจัดบริการให้คำปรึกษาเป็นบริการหนึ่งของการแนะแนวที่สามารถนำมาใช้ เพื่อให้ความช่วยเหลือเด็กวัยรุ่นได้ดี เนื่องจากการให้คำปรึกษาเป็นกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ส่วนตัวและสิทธิส่วนบุคคลของผู้ขอคำปรึกษา ซึ่งมีผลต่อการให้คำปรึกษาอย่างยิ่ง
(4.การบริการจัดการตัวบุคคล คือโรงเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดวางตัวนักเรียนเพื่อให้ได้เรียนดี มีงานทำที่เหมาะสมกับตนเอง เป็นการช่วยให้เด็กได้ใช้โอกาสต่างๆ ที่มีให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุด
(5.การบริการติดตามผล เป็นการประเมินผลการดำเนินงานแนะแนวที่ทางโรงเรียนได้ดำเนินการไปแล้วนำข้อมูลที่ได้มาประเมินด้วยวิธีการที่หลากหลาย
การให้คำปรึกษา
-บทบาทของผู้ให้การปรึกษาจึงเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการมีโอกาสใช้ศักยภาพพัฒนากระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เกิดขึ้นได้ การให้การปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจเป็นเรื่องของการช่วยผู้รับบริการให้หลุดออกจากภาวะความลังเล ไปสู่ความเชื่อมั่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างคงที่และถาวร
ประเภทของการให้คำปรึกษา
การให้คำปรึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Counseling)
การให้คำปรึกษาจะเป็นการพบกันระหว่างผู้ให้คำปรึกษา 1 คน กับผู้ขอคำปรึกษา 1 คน โดยร่วมมือกัน การให้คำปรึกษาแบบนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้ผู้ขอรับคำปรึกษาให้สามารถเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
2. การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (Group Counseling)
การให้คำปรึกษาประเภทนี้ หรืออาจเรียกว่าการให้คำปรึกษาเชิงกระบวนการ เป็นกระบวนการที่บุคคลที่มีความต้องการหรือปัญหาที่คล้ายกันหรือตรงกัน ต้องการปรับปรุงตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือต้องการจะแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งร่วมกัน มารวมกันเป็นกลุ่มเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกันโดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นผู้ช่วยเหลือกลุ่ม
วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
กิจกรรมสร้างสรรค์
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
1. คิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่นและแตกต่างจากการคิดธรรมดา
2. ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน
3. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง สามรถคิดได้หลายทางอย่างอิสระ
4. ความคิดละเอียดลออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน
ประเภทของความคิดสร้างสรรค์
1.ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการเปลี่ยนแปลง (Innovation) คือ แนวคิดที่เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น
2. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการสังเคราะห์ (Synthesis) คือ การผสมผสานแนวคิดจากแหล่งต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วก่อให้เกิดแนวคิดใหม่อันมีคุณค่า
3. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทต่อเนื่อง (Extension) เป็นการผสมผสานกันระหว่างความคิดสร้างสรรค์ประเภทเปลี่ยนแปลงกับความคิดสร้างสรรค์ประเภทสังเคราะห์ คือ เป็นโครงสร้างหรือกรอบที่กำหนดไว้กว้างๆ แต่ความต่อเนื่องเป็นรายละเอียดที่จำเป็นในการปฏิบัติงานนั้น
4.ความคิดสร้างสรรค์แบบการลอกเลียน
ทฤษฎี
1.กิลฟอร์ด - ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการทำงานของสมอง ในการคิดได้หลายทาง เรียกว่า อเนกนัย
2.ทอร์แรนซ์ - ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการที่ไวต่อปัญหา สิ่งที่ขาดหายไป แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมิฐาน ทดสอบสมมิฐาน และเผยแพร่ให้ผู๋อื่นรับรู้
1. คิดริเริ่ม หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ้ำกันกับความคิดของคนอื่นและแตกต่างจากการคิดธรรมดา
2. ความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกัน
3. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง สามรถคิดได้หลายทางอย่างอิสระ
4. ความคิดละเอียดลออ หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน
ประเภทของความคิดสร้างสรรค์
1.ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการเปลี่ยนแปลง (Innovation) คือ แนวคิดที่เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้น
2. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทการสังเคราะห์ (Synthesis) คือ การผสมผสานแนวคิดจากแหล่งต่างๆ เข้าด้วยกัน แล้วก่อให้เกิดแนวคิดใหม่อันมีคุณค่า
3. ความคิดสร้างสรรค์ประเภทต่อเนื่อง (Extension) เป็นการผสมผสานกันระหว่างความคิดสร้างสรรค์ประเภทเปลี่ยนแปลงกับความคิดสร้างสรรค์ประเภทสังเคราะห์ คือ เป็นโครงสร้างหรือกรอบที่กำหนดไว้กว้างๆ แต่ความต่อเนื่องเป็นรายละเอียดที่จำเป็นในการปฏิบัติงานนั้น
4.ความคิดสร้างสรรค์แบบการลอกเลียน
ทฤษฎี
1.กิลฟอร์ด - ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการทำงานของสมอง ในการคิดได้หลายทาง เรียกว่า อเนกนัย
2.ทอร์แรนซ์ - ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการที่ไวต่อปัญหา สิ่งที่ขาดหายไป แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมิฐาน ทดสอบสมมิฐาน และเผยแพร่ให้ผู๋อื่นรับรู้
3.วอลลาซ และ โคแกน - ความคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งหนึ่งไปยังสิ่งหนึ่ง
4.ออสบอร์น - ความคิดสร้างสรรค์เป็นจินตนาการประยุกต์ คือ จินตนาการที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ มิใช่จนตนาการที่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย
5.ไรลี่ และ เลวิซ - คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเห็นปัญหาอย่างที่คนอื่นไม่เห็น
ขอให้ทุกคนโชคดีกับการสอบ
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555
ประวัติเทควันโดจร้า
เมล์อาจารย์54910088@live.buu.ac.th
ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของเทควันโด 1) เทควันโดยุคบรรพกาล
มนุษย์โดยธรรมชาติแล้วย่อมมีสัญชาติญาณในการปกป้องตนเองและเผ่าพันธุ์ จึงพยายามที่จะพัฒนาความสามารถในการต่อสู้อยู่ตลอดเวลา ในสมัยที่ยังไม่มีอาวุธก็ต้องใช้การต่อสู้การด้วยมือเปล่าและแม้เมื่อมนุษย์สามารถประดิษฐ์อาวุธขึ้นใช้แล้วก็ยังอาศัยการฝึกฝนการต่อสู้ด้วยมือเปล่าในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ร่างกาย นอกจากนี้ยังนำมาเป็นการแสดงความสามารถโอ้อวดกันในงานประเพณีต่างๆ ด้วยเช่นการเฉลิมฉลองหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว หรือในที่ชุมนุมชนในโอกาสสำคัญอื่นๆเป็นต้น ชนชาติเกาหลีสืบเชื้อสายมาจากชาวเผ่ามองโกล ซึ่งอพยพย้ายถิ่นจากใจกลางทวีปเอเชียมายังคามสมุทรเกาหลีนานกว่า 2000 ปี มาแล้วเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวมองโกลคือ ความชำนาญและผูกพันกับการขี่ม้า ใช้ชีวิตบนหลังม้า รวมถึงการต่อสู้บนหลังม้า เนื่องจากต้องเลี้ยงสัตว์และเดินทางไปในทุ่งหญ้าและพื้นที่อันทุรกันดารเป็นระยะทางไกลๆทางตอนเหนืออยู่เสมอ ส่วนประชาชนในพื้นที่ทางตอนใต้อันอุดมสมบูรณ์มากกว่าได้ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และทิ้งชีวิตบนหลังม้าไป สิ่งนี้เป็นปัจจัยให้พัฒนาการของวิธีการต่อสู้ของนักรบทางภาคเหนือและภาคใต้แตกต่างกัน ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ภูมิศาสตร์ของคาบสมุทรเกาหลีนั้นมีความสำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์เพราะเป็นสะพานเชื่อมและอยู่กึ่งกลางระหว่างแผ่นดินจีนทางตะวันตก มองโกลทางทิศเหนือ รัสเซียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และหมู่เกาะญี่ปุ่นทางทิศใต้ซึ่งต่างก็พยายามแผ่อำนาจและผลัดกันยึดครองดินแดนผืนนี้อยู่เสมอ ประวัติศาสตร์ของเกาหลีจึงเต็มไปด้วยการรบพุ่ง ต่อสู้ แย่งชิง และปกป้องบ้านเมืองของตนมาตลอด ในยุคแรกเริ่มของอารยธรรมเกาหลี (ประมาณ 50 ปีก่อนคริสตกาล) ปรากฏว่ามีการแบ่งแยกดินแดนออกเป็น 3 อาณาจักร ได้แก่ โคกุลเยอ ทางทิศเหนือ เบคเจทางทิศใต้ และซิลลาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อาณาจักรทั้งสามต่างก็พยายามชิงความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว จึงยายามเสริมสร้างกำลังกองทัพและฝึกฝนทหารของตนให้มีความเข้มแข็งอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โคกุลเยอ และซิลลาได้สร้างกองทัพนักรบหนุ่มขึ้นเรียกว่า “ชูอิโซนิน” และ “ฮวารังโด” ตามลำดับซึ่งมีการฝึกฝนการต่อสู้ด้วยมือ และเท้า รวมถึงการต่อสู้ด้วยอาวุธนานาชนิด กล่าวถึงอาณาจักรโคกุลเยอทางเหนือ ที่มีเขตแดนติดต่อกับจีนจึงต้องพัฒนากำลังทหารไว้ป้องกันประเทศ นักรบในกองกำลัง“ชูอิโซนิน” นี้เรียกว่า “ซอนเบ” ในประวัติศาสตร์กล่าวว่าพวกซอนเบนี้จะอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า มีการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะต่างๆ นอกเหนือจากวิชาการต่อสู้และยังใช้เวลาในยามสงบช่วยพัฒนาบ้านเมืองด้วยการสร้างถนนป้อมปราการต่างๆ วิชาการต่อสู้ของพวกซอนเบนี้เรียกว่า “เทคเคียน” ซึ่งมีลักษณะเด่นที่การใช้เท้าเตะ เนื่องจากการขี่ม้าจะต้องใช้มือควบคุมสายบังคับม้า ถืออาวุธ และธนูจึงเน้นการใช้เท้าที่ว่างอยู่ในการต่อสู้และช่วยในการทรงตัวหลักฐานภาพวาดตามฝาผนังในสุสานโบราณหลายแห่งแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้และทักษะต่างๆ ของเทคเคียน ซึ่งนอกจากจะใช้ในการรบแล้วยังเป็นการบริหารร่างกาย และเป็นเกมกีฬาที่นิยมประลองกันในโอกาสต่างๆกันด้วย ส่วนอาณาจักรซิลลาทางตอนใต้ ก็ถูกรุกรานจากอาณาจักรโคกุลเยอทางตอนเหนือ และอาณาจักรเบคเจทางตะวันตก จึงต้องเสริมสร้างกองทัพที่เข้มแข็งไว้เช่นกัน โดยเรียกว่านักรบหนุ่มของตนว่า “ฮวารัง”ซึ่งมีกฎระเบียบการปกครองและการฝึกฝนคล้ายคลึงกับซอนเบมาก การคัดเลือกชายหนุ่มเข้าเป็นฮวารังจะต้องมีการทดสอบฝีมือการต่อสู้ซึ่งได้แก่การฟันดาบ มวยปล้ำ ขี่ม้า และการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่เรียกว่า“ซูบัก” ซึ่งเน้นการใช้ทักษะของมือเป็นหลัก เนื่องจากชาวซิลลามีความผูกพันกับพุทธศาสนาเป็นอย่างมากวัดโบราณในเมืองเกียงจูจึงมีรูปปั้นทวารบาลเป็นยักษ์ (กึมกัง ย็อกซ่า) แสดงท่าต่อลักษณะท่ามือที่คล้ายคลึงกับเทควันโดในปัจจุบันมาก แม้จะมีรากฐานความเป็นมาแตกต่างกัน แต่ทั้ง เทคเคียน และซูบักก็เริ่มผสมผสานกลมกลืนกัน โดยเทคเคียนได้เผยแพร่จากอาณาจักรโคกุลเยอเข้ามาในอาณาจักรซิลลาเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่4 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปสู่สามัญชนทั่วไป อาณาจักรซิลลาเริ่มมีความเข้มแข็งกว่าอาณาจักรอื่นๆ โดยมีขุนพลฮวารังที่มีชื่อเสียงอาทเช่นิ คิมยูซิน และคิมชุนช ูเป็นกำลังสำคัญในการรบเพื่อรวมอาณาจักรในคาบสมุทรเกาหลีเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จในปี ค.ศ.676 (พ.ศ.1219)และคงความเป็นปึกแผ่นไว้ได้นานเกือบ 300 ปี
2) เทควันโดยุคกลาง
ในสมัยราชวงศ์คอร์โย ซึ่งปกครองเกาหลีต่อจากอาณาจักรซิลลา ในระหว่าง ค.ศ.918-1392 มีการพัฒนารูปแบบการฝึกเทคเคียนและซูบักอย่างเป็นระบบ และใช้ในการทดสอบเพื่อคัดเลือกทหารเข้าประจำการด้วยมีบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่แสดงว่าวิชาการต่อสู้ด้วยมือ และเท้าเปล่านี้ได้พัฒนาถึงขั้นเป็นอาวุธฆ่าคนในสงครามได้จริง ทักษะความสามารถในการต่อสู้ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในการเลื่อนยศและตำแหน่งของทหาร(จึงเป็นที่มาของการจัดระดับสายในเทควันโด คล้ายกับชั้นยศทหารในกองทัพ:ผู้เรียบเรียง) มีการบันทึกถึงระบบกติกาการต่อสู้คล้ายกับกีฬาในปัจจุบัน ในการทดสอบพละกำลัง ลียี่หมิน ใช้กำปั้นข้างขวาชกที่เสาและสามารถทำให้หลังคาสะเทือนจนกระเบื้องมุงหลังคาหล่นลงมาแตกกระจาย เขาสามารถชกทะลุกำแพงที่ก่อด้วยดินเหนียว และในการประลองเขาชกเข้าที่กระดูกสันหลังของคู่ต่อสู้ซึ่งทำให้ถึงกับเสียชีวิต จึงถือได้ว่าผู้ฝึกวิชาต่อสู้ด้วยมือเปล่าสามารถทำการต่อสู้เทียบเท่ากับการใช้อาวุธสังหารทีเดียว กษัตริย์ในราชวงศ์นี้ทรงโปรดการประลองต่อสู้เพื่อคัดเลือกทหารเป็นอย่างยิ่ง มีการจัดประลองตามหัวเมืองต่างๆที่เสด็จไปประพาสให้ทอดพระเนตรอยู่เป็นประจำ อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายของราชวงศ์ได้มีการนำอาวุธปืนเข้ามาใช้ในกองทัพ ทำให้บทบาทของการประลองต่อสู้ด้วยมือเปล่าลดความสำคัญลงไปมาก
3) เทควันโดยุคใหม่
ในยุคนี้ราชวงศ์โชซันปกครองประเทศเกาหลีในปี ค.ศ.1392-1910 จากนั้นเกาหลีตกอยู่ใต้การปกครองของญี่ปุ่นจนถึงปี ค.ศ.1945 ราชวงศ์โชซันปกครองประเทศด้วยลัทธิขงจื๊อ จึงปฏิเสธพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ และให้ความสำคัญของศิลปะการต่อสู้น้อยกว่างานด้านวรรณกรรม การประลองฝีมือเพื่อคัดเลือกทหารเข้าประจำการก็ยังคงมีอยู่แต่ได้รับความสนพระทัยจากกษัตริย์น้อยลงบ้านเมืองจึงเริ่มอ่อนแอลง จนเมื่อเกาหลีถูกรุกรานจากญี่ปุ่นในปี ค.ศ.1592 พระเจ้าเจียงโจ จึงได้รื้อฟื้นศิลปะการต่อสู้ขึ้นมาขนานใหญ่มีการจัดทำตำรามาตรฐานวิชาการต่อสู้เรียกว่า “มูเยโดโบ ทองจิ” ซึ่งในเล่มที่ 4 มีภาพประกอบและได้กล่าวอธิบายถึงการเคลื่อนไหวต่อเนื่องซึ่งมีลักษณะคล้ายกับท่ารำพูมเซในปัจจุบัน มีการสอนวิชาการต่อสู้ให้กับเด็กคล้ายกับเป็นกีฬาหรือการละเล่นชนิดหนึ่ง เมื่อญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศเกาหลี การฝึกวิชาการต่อสู้เริ่มเป็นสิ่งต้องห้าม จึงต้องมีการแอบฝึกและมีการถ่ายทอดกันมาอย่างลับๆเฉพาะในหมู่ลูกหลานเท่านั้นจนเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1945 ประเทศเกาหลีจึงได้รับอิสรภาพอีกครั้ง แต่จากการที่ทางการญี่ปุ่นได้คุมขังและทรมานนักเทควันโดเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้สืบทอดวิชาการต่อสู้เหลือน้อยจนเป็นที่หวั่นเกรงกันว่าจะสาบสูญไป ทั้งญี่ปุ่นได้พยายามกลืนวัฒนธรรมเกาหลีด้วยการบังคับให้ชาวเกาหลีฝึกคาราเต้ และยูโดแทน
4) เทควันโดยุคปัจจุบัน
ภายหลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากญี่ปุ่น ได้มีความพยายามที่จะฟื้นฟูศิลปะการต่อสู้ของเกาหลีขึ้นมาใหม่ปรมาจารย์ ซองดุคคิ ได้แสดงวิชาเทคเคียน ให้ประธานาธิบดี ลีซึงมาน ชมในงานฉลองวันเกิด ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่ามีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากคาราเต้ ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวได้มีการก่อตั้งสำนัก(โดจัง) ขึ้นหลายแห่งแต่ก็อยู่ได้อย่างไม่มั่นคงนักจนเมื่อเกิดสงครามเกาหลี และเกาหลีถูกแบ่งแยกเป็นสองประเทศ ได้แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี(เกาหลีเหนือ)ซึ่งปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์แบบรัสเซีย และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกา สภาพเศรษฐกิจในเกาหลีใต้เริ่มฟื้นตัวบรรดานักประวัติศาสตร์และปรมาจารย์เจ้าสำนักต่างๆ โดยการนำของนายพลเชฮองฮี ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมเทควันโดแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้สำเร็จในปี ค.ศ.1954ในช่วงสั้นๆ จากปี ค.ศ.1961-1965 สมาคมได้เปลี่ยนไปใช้ชื่อสมาคมเทซูโด (มาจาก เทคเคียน+ซูบัก)แต่ก็ได้เปลี่ยนกลับมาเป็นเทควันโดเช่นเดิมอีก และกีฬาเทควันโดเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายอีกครั้งมีการจัดการแข่งขันทั้งในระดับประถมศึกษา,มัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้บรรจุในการฝึกทหารของกองทัพ ในสงครามเวียดนามทหารเกาหลีได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทควันโดในการต่อสู้ระยะประชิดตัว จึงได้รับความสนใจจากนานาประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา คุณค่าของเทควันโดได้จึงเป็นที่ประจักษ์ในฐานะที่สร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศเกาหลี วิชาเทควันโดจึงได้รับการยกย่องให้เป็นกีฬาประจำชาติ (คุคคิ เทควันโด) ในปี 1971 (พ.ศ.2514) ซึ่งจุดเด่นของเทควันโดนอกจากจะเป็นการฝึกฝนพละ-
กำลัง ทั้งร่างกายและจิตใจแล้วยังเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลิกภาพให้แก่เยาวชนอีกด้วย ในปี ค.ศ.1972 รัฐบาลเกาหลีได้สถาปนาสำนัก “กุกกิวอน” ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการสอบขึ้นทะเบียนสายดำและ เผยแพร่เทควันโดไปทั่วโลก โดยมีดร.อุนยองคิม ผู้แทนรัฐบาลเป็นประธาน มีการจัดการแข่งขันในระดับต่างๆ มากถึง350 ครั้ง ในปีนั้นรวมทั้งการแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์โลกด้วยนอกจากนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาของบุคลากรผู้ฝึกสอนเทควันโด จึงได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยเทควันโดโลก ขึ้นมาเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลกเทควันโดได้รับความนิยมเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกทั้งในหมู่ทหาร ตำรวจ และนักเรียนนักศึกษาในปี ค.ศ.1977 มีจำนวนสายดำในประเทศเกาหลีถึง 3,620,000 คน และอีก 160,000 คนทั่วโลกทีมนักแสดงเทควันโดสาธิตทีมชาติเกาหลี ได้มีส่วนสำคัญในการเผยแพร่กีฬาเทควันโดและเกียรติภูมิของประเทศเกาหลีให้เป็นที่รู้จักทั่วไป จนเมื่อวันที่ 28 พ.ค.1973 มีการประชุมผู้แทนสมาคมเทควันโดจากประเทศต่างๆทั่วโลกจำนวน 50 ประเทศ และมีมติให้ก่อตั้งสหพันธ์เทควันโดโลกขึ้น โดยมี ดร.อุนยองคิม เป็นประธานสหพันธ์อีกเช่นเดียวกันปัจจุบันมีประเทศสมาชิกถึง 157 ประเทศ (ข้อมูล พ.ศ.2547) (พ.ศ.2551 มี 184 ประเทศ)และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สหพันธ์มีหน้าที่ดูแลการแข่งขันเทควันโดชิงแชมป์โลก ซึ่งจัดเป็นประจำทุกๆ 2 ปี และยังมีการจัดตั้งสหพันธ์เทควันโดแห่งเอเชีย และทุกทวีปซึ่งจะจัดการแข่งขัน ระดับภูมิภาคทุกๆ 2 ปี สลับปีกับการแข่งขันชิงแชมป์โลก นอกจากนั้นเทควันโดยังได้รับการรับรองจากสถาบันต่างๆดังนี้
- ค.ศ.1975 สหพันธ์เทควันโดโลกได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมสหพันธ์กีฬาสากล (GAISF)
- ค.ศ.1976 เป็นสมาชิกของสภากีฬาทหารโลก (CISM)
- ค.ศ.1979 ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการโอลิมปิคสากล
- ค.ศ.1982 ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในโอลิมปิคเกมส์ (แข่งขันที่กรุงโซล 1988)
- ค.ศ.1984 ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาสาธิตในเอเชียนเกมส์ (แข่งขันที่กรุงโซล 1986)
- ค.ศ.1979 ได้รับการบรรจุเป็นกีฬาบังคับในโอลิมปิคเกมส์ (แข่งขันที่ซิดนีย์ 2000)
ซึ่งนับเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับกีฬาที่เพิ่งเผยแพร่ไปทั่วโลกได้เพียง30 ปีเท่านั้น ในปี 2004ได้มีการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญได้แก่ตำแหน่งประธานสหพันธ์เทควันโดโลก และสำนักกุกกิวอน เนื่องมาจาก ดร. อุน ยองคิม ไม่สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้ นับเป็นการสิ้นสุดยุคสมัยอันยาวนานของท่าน โดยประธานสหพันธ์เทควันโดโลกคนปัจจุบันได้แก่ นาย ชุงวอนโชว และประธานสำนักกุกกิวอนคนปัจจุบันได้แก่ ปรมาจารย์ อึมวุนเกียว สายดำดั้ง 10(เลื่อนขึ้นมาจากรองประธานสำนักกุกกิวอน)
คำสั่งที่ใช้กันในกีฬาเทควันโด
Haryeot ( แชเรียต ) ท่ายืนตรงปลายเท้าชิด กำหมัดแนบข้างลำตัว
Kyeong-rye (คิยอง-เย่) คำนับ ก้มศรีษะ โน้มตัวลงไปรอ 1-2 วินาทีจึงเงยขึ้น
Joonbi (จุนบิ) ท่าเตรียม แยกเท้าซ้ายไปด้านข้าง 1 ช่วงไหล่ดึงกำปั้นทั้งสองข้างขึ้นมาที่ระดับอก แล้วชกหมัดทั้งสองข้างลงข้างลำตัว
Pa-chagi joonbi (พาชากิ จุนบิ) ท่าตั้งการ์ดเตรียมต่อสู้ ถอยเท้าขวาข้างหนึ่งลงไปข้างหลังพอประมาณ ย่อเข่าลงเล็กน้อย กำหมัดทั้งสองข้างยกขึ้นมาตั้งการ์ดในระดับอก หมัดปิดปลายคาง
Geuman (กือมานหยุด) จบ หรือ สิ้นสุด
Baro(พะโร) กลับคืนสู่ท่าเริ่มต้น
Shio(ชิโอะ) หยุดพัก
Choyu Gutt (โชโยกุ้ด) เลิกชั้น (การเรียนสิ้นสุดลงแล้ว)
Arae (อะเร) ส่วนล่างข้างร่างกาย ตั้งแต่สะโพกลงไป
Momtong (มมทง) ส่วนกลางของร่างกาย ตั้งแต่หัวไหล่ลงมาถึงสะโพก
Eolgul (ออลกุล) ส่วนบนของร่างกาย ตั้งแต่หัวไหล่ขึ้นไป
Chagi (ชากิ) การเตะ
Makki(มักกิ) การบล็อก
Jireugi (จีรือกิ ) การชก
Seogi (เซอกิ) การยืน
Ap Chagiz(อัพ ชากิ) เตะฟร้อนสแนปคิก
Dolryeo Chagi (ดลเรียล ชากิ) เตะราวน์คิก
Yeop Chagi (เยิพ ชากิ) เตะไซด์คิก
Dwit Chagi (ดวิท ชากิเตะ) แบล็คคิก
Huryeo Chagi(ฮูเรียว) ชากิเตะฮุกคิก
Jwawoo-Hyangwoo (จวาวู-ยางวู) หันหน้าเข้าหากัน
Dwiro Dora (ดิโร โดระ ) กลับหลังหัน (หมุนทางขวามือตัวเอง)
การนับเลขแบบเกาหลี
0 = 공 (โคง)
1 = 하나 (ฮานา)
2 = 둘 (ทูล)
3 = 셋 (เซด)
4 = 넸 (เนด)
5 = 다섯 (ดาซอด)
6 = 여섯 (ยอซอด)
7 = 일곱 (อิลกบ)
8 = 여덟 (ยอดอล)
8 = 여덟 (ยอดอล)
9 = 아홉 (อาฮบ)
10 = 열 (ยอล)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)